คำนำ
รายงานเรื่อง
ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านรู้เกี่ยวกับเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และเพื่อให้สอดคล้องกับบทที่กำลังได้เรียนอยู่ในขณะนี้
เนื้อหาในรายงานนี้บางส่วนก็ได้มีการคัดลอกจากหนังสือ และสื่อออนไลน์หลายอย่าง
ผู้จัดทำหวังว่า
รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่าน เพื่อนำข้อมูลในนี้นำไปใช้ประโยชน์ในหน้าที่
การเรียน หรือการศึกษาเพิ่มเติม หากมีข้อแนะนำหรือผิดพลาดประการใด
ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำรายงาน
วันที่ 9
มีนาคม พ.ศ. 2560
สารบัญ
การเกิดฤดูกาล 1
ข้างขึ้น-ข้างแรม 2
การเกิดสุริยุปราคา 3
การเกิดจันทรุปราคา 4
การเกิดฤดูกาล

ฤดูหรือฤดูกาล
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
แกนของโลกที่หมุนรอบตัวเองเอียงทำมุม 23.5 องศา
กับแนวซึ่งตั้งฉากกับแนวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งที่รังสีดวงอาทิตย์
ตกตั้งฉากกับพื้นโลกเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของแนวทางการโคจร โดยมีตำแหน่งตั้งฉากเหนือสุดที่
23.5 N
เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นอยู่ในซีกโลกเหนือ
และมีตำแหน่งใต้สุดที่ละติจูด 23.5 S เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนลงไปอยู่ในซีกโลกใต้
สาเหตุ ดังกล่าวทำให้พื้นที่ต่าง ๆ
บนพื้นโลกในแต่ละช่วงเวลามีอุณหภูมิแตกต่างกันไป จนสามารถแบ่งช่วงเวลาของโอโซน
และภาวะเรือนกระจก การเกิดฤดูตามเขตต่าง ๆ
ได้โดยพิจารณาตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์
แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับคือดวงอาทิตย์
ซึ่งพลังงานความร้อนที่โลกได้รับนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางบรรยากาศของโลกมากมาย
รวมตลอดถึงการเกิดฤดูกาลบนผิวพื้นโลกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง
23 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ
ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย
โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน
จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน
ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า
จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์
จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว
ข้างขึ้น-ข้างแรม
ข้างขึ้นข้างแรม (The
Moon’s Phases) เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม
ไม่มีแสงในตัวเอง ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
แต่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก
เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบดังภาพที่ 1 ใช้ประมาณ 30
วัน

คนไทยแบ่งเดือนทางจันทรคติ (Lunar
month) ออกเป็น 30 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ - วันขึ้น 15 ค่ำ และ
วันแรม 1 ค่ำ - วันแรม 15 ค่ำ โดยถือให้วันขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง),
วันแรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดทั้งดวง), วันแรม
8 ค่ำ และวันขึ้น 8 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง) เป็นวันพระ
· วันแรม
15 ค่ำ (New
Moon): เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์หันด้านเงามืดเข้าหาโลก ตำแหน่งปรากฏของดวงจันทร์อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์
แสงสว่างของดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้เลย
· วันขึ้น
8 ค่ำ (First
Quarter): เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งมุมฉากระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่ากัน
· วันขึ้น
15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ (Full Moon): ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์หันด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
· วันแรม
8 ค่ำ (Third
Quarter): ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งมุมฉากระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่ากัน
การเกิดสุริยุปราคา

สุริยุปราคา
เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์
โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน
บริเวณ ต่างๆ บนโลก
สุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า
สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก
แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง
โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์
เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง”
และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน
เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน
เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน”
สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน (
แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์
ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )
ผลกระทบ
การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์
ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ
จะบินกลับรัง
ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น
และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลก
วิธีดู
เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้
ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2
–3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป
หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด
การเกิดจันทรุปราคา

จันทรุปาคา
เป็นปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์
ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ )
โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา
หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15
ค่ำ)
เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ
เช่น “
จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก
จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง
จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง
เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์
ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน
จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม
ผลกระทบ
การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชองสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน
แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ
และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด
ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้
เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น